Photoelectric Sensors

Photoelectric Sensors คืออุปกรณ์ตรวจจับด้วยแสง คือการควบคุมแสงที่ใช้ในกระบวนการผลิตอัตโนมัติต่างๆ โดยทำงานตรวจจับแสงที่มองเห็นหรือแสงที่มองไม่เห็น และตอบสนองการทำงานตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงที่ได้รับ โดย Photoelectric Sensors สามารถแบ่งได้หลักๆ  3 ประเภท

1 .Diffuse Mode (สะท้อนวัตถุโดยตรง)

 

เป็น Sensor ที่อาศัยหลักการยิงแสงไปที่วัตถุ แล้วสะท้อนกลับมา ซึ่ง Sensor ลักษณะนี้นิยมใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย เพราะใช้ผิววัตถุที่ตรวจจับเป็นตัวสะท้อนแสงกลับมา

2. Retroreflective Mode (สะท้อนวัตถุโดยตรงแบบจำกัดลำแสง)


 

 เป็น Sensor ที่ต้องอาศัยแผ่นสะท้อน หรือที่เราเรียกว่า Reflect เป็นตัวสะท้อนแสงกลับมา ซึ่ง Sensorลักษณะนี้

 สามารถนำไปใช้งานได้ดีในบริเวณที่มีการจำกัดพื้นที่การติดตั้ง นอกจากนี้แผ่นสะท้อน ยังส่งผลทำให้ระยะการตรวจจับ

  วัตถุ สามารถทำได้ไกลขึ้น

 3.Opposed Mode (มีตัวส่งและตัวรับแยกกัน)


 

เป็น Sensor แบบที่ใช้ตัวส่งและตัวรับ เนื่องจาก Sensor ลักษณะนี้ มีทั้งตัวส่งและตัวรับ ดังนั้นจึงทำให้ระยะการตรวจจับวัตถุสามารถตรวจจับได้ระยะไกลมากขึ้น นอกจากนี้ในยังสามารถนำไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นมากกว่าปกติได้จากประเภทของ Photoelectric Sensor ทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ทำให้ในเบื้องต้น เราสามารถตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบการติดตั้งได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญ ดังนี้

                          - สี , พื้นผิวของวัตถุที่ตรวจจับ  (Color , Surface) สีต่างๆกัน มีผลต่อการดูดซับของแสง ลักษณะพื้นผิว เช่น ผิวมันวาว ผิวขรุขระ มีผลต่อการสะท้อนของแสง

                          - ความโตของลำแสง (Beam Pattern) ถ้าความโตของลำแสง มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุที่ตรวจจับ ก็จะทำให้แสงนั้นยิงผ่านวัตถุไป บางครั้งทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้ ดังนั้นความโตของลำแสง จึงต้องมีขนาดเล็กกว่าวัตถุที่ต้องการตรวจจับ

                          - ความแตกต่างของสี (Contrast) เนื่องจาก Photoelectric Sensors จะมองเห็นวัตถุที่ต้องการตรวจจับเป็น Gray Scale หรือ เป็นสีเทานั่นเอง ดังนั้น Photo Sensors จะตรวจจับวัตถุที่มีค่า Contrast สูงได้ดีกว่า วัตถุที่มีค่า Contrast ต่ำ        

                ทั้งนี้ Photoelectric Sensors จะมีระยะการตรวจจับที่เปลี่ยนแปลงตามสีของวัตถุที่ต้องการตรวจจับ และเปลี่ยนแปลงตามประเภท ของ Sensors ดังที่กล่าวข้างต้นไปแล้ว

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น นอกจากการเลือกใช้ชนิดของ Sensors ให้ถูกต้องแล้ว ยังมีสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงอีก เช่น ความเร็วของ วัตถุที่ต้องการตรวจจับ , การเรียงตัวของวัตถุว่าเป็นระเบียบหรือไม่  , สภาพแวดล้อมในการติดตั้ง , สัญญาณ Output ที่ต้องการนำไปใช้ รวมไปถึงลักษณะชนิดของงานว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้ยังมีสิ่งอื่นๆที่ยังต้องพิจารณาอีกมากมาย

          ดังนั้น เราจึงควรเลือกปรึกษา และเลือกใช้ บริษัทที่จำหน่ายอุปกรณ์ โดยวิศวกรที่มีความรู้ ความชำนาญ ทางด้านสินค้านั้นๆ เพื่อจะสามารถทำให้เครื่องจักรของเราทำงานได้ตามความต้องการ และมีประสิทธิภาพสูงสุด